อาหารธรรมชาติ เพิ่มพลังสมอง

อาหารธรรมชาติ เพิ่มพลังสมอง

อาหารสมอง หรืออาหารที่ช่วยเพิ่มพลังให้กับสมอง ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรค รวมถึงลดความล้าในวันที่ต้องคิดอะไรมากมาย หลายคนมักจะคิดอาหารเหล่านั้นอยู่ไกลตัวเรา แต่จริง ๆ แล้วอาหารเหล่านั้นกับอยู่ใกล้เรามากกว่าที่คิด วันนี้เราเลยรวบรวมอาหารสมองมาฝากกัน จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย

ขมิ้น

เครื่องเทศของที่พบได้ในอาหารต่าง ๆ เช่น ผงกะหรี่ ในขมิ้นมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่าสารเคอร์คูมิน (Curcumin) มีผลในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ชาวอินเดียรับประทานสารนี้ในอาหารสม่ำเสมอ และนักวิจัยได้ค้นพบว่า อัตราการเกิดโรคอัลไซมอร์ในคนอินเดียต่ำที่สุดในโลก

สารเคอร์คูมินช่วยชะลอการสะสม หรือขจัดคราบพลัคในสมองที่ทำให้เกิดโรคอัลไซมอร์ โดยการลดปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระจากโปรตีนอินเตอร์ลูคิน -1 เบต้า และไซโตไคน์ ซึ่งล้วนแต่ทำให้เกิดการอักเสบภายในร่างกาย

เมล็ดทานตะวัน

เมล็ดทานตะวัน อุดมไปด้วยวิตามินอีซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันอนุมูลอิสระที่จะทำลายโครงสร้างสมอง เพียงกินเมล็ดทานตะวัน 1/4 ถ้วยต่อวัน ก็จะให้วิตามินอีสูงถึง 90.5 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการวิตามินอีในแต่ละวัน

เมล็ดดอกทานตะวันยังเป็นแหล่งของแมกนีเซียมที่ดี มีสารอาหารที่ช่วยป้องกันไมเกรน มีหลักฐานการวิจัยพบว่า ระดับแมกนีเซียมมีผลต่อตัวรับ และสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับไมเกรน แมกนีเซียมจะทำงานตรงกันข้ามกับแคลเซียม เวลาที่ระดับแมกนีเซียมต่ำ แคลเซียมจะวิ่งไปที่เซลล์ประสาทและกระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาทมากเกินไป ทำให้เซลล์ประสาทเกิดการหดตัวมากกว่าปกติ แต่ถ้ามีระดับเมกนีเซียมเพียงพอ จะช่วยให้เซลล์ประสาทคลายตัวผ่อนคลาย เมล็ดทานตะวัน 1/4 ถ้วย ให้แมกนีเซียมประมาณ 1/3 ของความต้องการประจำวัน

องุ่น

มีสารพฤกษเคมีสำคัญหลายชนิด เช่น เรสเวอราทรอล (Resveratrol) เควอร์ซิติน (Quercetin) คาเทชิน และมีสารพฤกษเคมีอื่น ๆ ซึ่งให้ผลในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ แนนซี เบอร์แมน แห่งโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยแคนซัส ได้เปรียบเทียบหนูที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีองุ่นและไม่มีองุ่น พบว่าอาหารที่มีองุ่นช่วยการทำงานของยีนที่ยับยั้งการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ลดการอักเสบและความเครียดจากอนุมูลอิสระในสมองได้ การอักเสบนี้เองที่ทำให้นักวิจัยเชื่อว่ามีบทบาทสำคัญในการเกิดโรคที่ทำให้สมองเสื่อม

บลูเบอร์รี

บลูเบอร์รีมีสารกลุ่มฟลาโวนอล (Flavonal) ชนิดแอนโทไซยานินและฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยลดการอักเสบ สามารถช่วยเพิ่มความจำในผู้สูงอายุที่เริ่มมีปัญหาเรื่องความจำ และช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่กลไกการทำงานของฟลาโวนอยด์ต่อสมองยังไม่ชัดเจน

แหล่งที่มา : cheewajit.com/